Loading...
Loading...
Loading...
เวลาทำการ: วันจันทร์ - ศุกร์ : 17.00 - 19.00น, วันเสาร์ 09.00-13.00น. / วันอาทิตย์ 09.00-17.00

ระยะเวลาพักฟื้นหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง

เคล็ดลับการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscope)

เมื่อได้ยินคำว่า 'ผ่าตัด' หลายคนอาจยังมีความกังวล แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ในยุคนี้มีเทคนิคการผ่าตัดแผลเล็ก ทำให้โอกาสประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเพิ่มสูงขึ้น มีความปลอดภัยในการผ่าตัดมากขึ้น และลดความเสี่ยงต่าง ๆ ลง การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscope) เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อต่าง ๆ ในการผ่าตัดให้น้อยที่สุด ได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีเยี่ยม ไม่ต่างจากการผ่าตัดแบบเปิดแผลปกติเลย

เคล็ดลับการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscope)

แม้การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอนโดสโคปจะให้แผลผ่าตัดขนาดเล็ก เนื้อเยื่อได้รับผลกระทบน้อย จึงทำให้อาการเจ็บปวดจากแผลเกิดขึ้นน้อยตามไปด้วย ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด แต่การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอนโดสโคป ก็มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เหมือนกับการผ่าตัดเแบบเปิดแผลไม่ต่างกัน แต่จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้น้อยกว่า เช่น ภาวะติดเชื้อที่บริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง, การติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด หรือถุงหุ้มเส้นประสาทฉีกขาด เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อให้ได้รับผลลัพธ์การรักษาที่ดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และมีการเตรียมความพร้อมหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง ตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้

  1. ระยะเวลาพักฟื้นหลังผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง
    ผู้ป่วยแต่ละรายมีระยะเวลาพักฟื้นของร่างกายที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง จะสามารถลุกขึ้นเดินได้เลยทันทีหลังผ่าตัด หากผู้ป่วยมีภาวะแขนขาอ่อนแรง แพทย์จะให้ทำกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัด โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะคือ
    • ระยะเฉียบพลัน คือ ช่วง 1-3 วันแรกหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยต้องจัดท่านอนและพลิกตะแคงตัวให้ถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์ ในบางรายอาจต้องใส่อุปกรณ์พยุงสันหลังเพื่อพักฟื้นเนื้อเยื่อ และเพื่อเป็นการจำกัดการทำกิจกรรมของผู้ป่วย ไม่ให้ผู้ป่วยขยับตัวมากเกินความจำเป็น

      ทั้งนี้การผ่าตัดกระดูกสันหลังบางชนิด มีความจำเป็นที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับการใส่อุปกรณ์พยุงกระดูกสันหลัง ซึ่งแพทย์มักแนะนำให้สวมใส่หลังการผ่าตัดเป็นระยะเวลา 1-2 เดือน ขึ้นอยู่กับกรณีผ่าตัดในแต่ละบุคคล และดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา
       
    • ระยะฟื้นฟูสภาพ คือ ช่วง 4-7 วันหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการกระตุ้นให้เคลื่อนไหวด้วยตัวเองมากขึ้น ฝึกการทรงตัว ยืน และเดินออกกำลังกาย เพื่อช่วยในการยืดของกล้ามเนื้อหลัง แพทย์จะทำการนัดเข้ามาเปิดแผลภายใน 7-14 วัน ขึ้นอยู่กับประเภทของไหมที่แพทย์ใช้เย็บแผล หากแผลแห้งดีแล้วและไม่พบอาการอักเสบ ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ
       
  2. งดกิจกรรมบางอย่างที่กระทบกับการฟื้นฟูสภาพ
    หลังการผ่าตัดกระดูกสันหลังไม่นาน ผู้ป่วยไม่ควรก้มตัวหรือแอ่นหลังมาก ๆ จะทำให้การฟื้นตัวของร่างกายช้าลง งดเว้นการยกของที่มีน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัมขึ้นไป งดเอื้อมหยิบของบนที่สูงเป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์หลังการผ่าตัด และไม่แนะนำให้ขับรถยนต์ด้วยตัวเอง หรือซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์อย่างน้อย 6-8 สัปดาห์ขึ้นไปหลังการผ่าตัด

    เมื่อรู้สึกจะไอหรือจามควรควบคุมแรงให้ดี หลีกเลี่ยงการไอหรือจามแรง ๆ เพื่อป้องกันแรงกระเทือนถึงแผลผ่าตัด โดยการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงงาน หรือการเล่นกีฬาต่าง ๆ โดยไม่ต้องประคบประหงมตัวมากนัก จะสามารถทำได้หลังเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังไปแล้ว 6 เดือนขึ้นไป
     
  3. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่
    หลีกเลี่ยงการนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ไม่นั่งหลังค่อม หากต้องทำงานนั่งโต๊ะนาน ๆ ควรปรับเปลี่ยนท่านั่งบ่อย ๆ การยืน เดิน หรือนอน ควรระมัดระวังในการใช้หลังให้มากขึ้น หากเคยยกของหนัก ๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ก็ไม่ควรกลับไปยกของหนักอีก ถ้ามีความจำเป็นต้องยกของ ให้ย่อตัวลงแล้วยกของชิดกับลำตัวให้มากที่สุด ลุกขึ้นด้วยกำลังจากกล้ามเนื้อขา ไม่ใช่กล้ามเนื้อหลัง การยกของอย่างถูกวิธีจะช่วยถนอมกระดูกสันหลังให้ได้รับผลกระทบน้อยลง
     
  4. สำรวจอาการปวดหลังของตัวเองเป็นประจำ
    หลังการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง หากพบว่ามีอาการปวดแผลมากกว่าปกติ แผลมีเลือดซึม บวมแดง หรือแผลปริ ควรรีบเข้าพบแพทย์ทำการรักษาแผลทันที เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ

หลังการผ่าตัดเป็นระยะเวลานาน หากเริ่มกลับมามีอาการปวดหลัง ปวดร้าวลงขาหรือแขน รู้สึกเสียวชา ร่วมกับอาการอ่อนแรงของไหล่ แขน และขา ผู้ป่วยควรรีบเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการวินิจฉัย โดยโอกาสเกิดซ้ำของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทจะอยู่ที่ประมาณ 6% เท่านั้น แต่จะเห็นได้ว่ามีความจำเป็นอย่างมากที่ผู้ป่วยจะต้องใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท คอยดูแลตัวเองด้วยความระมัดระวังอยู่เสมอ

การใช้เทคโนโลยีกล้องเอนโดสโคปในการผ่าตัดกระดูกสันหลัง เป็นทางเลือกวิธีการผ่าตัดที่จะทำให้ผู้ป่วยเจ็บแผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากแผลมีขนาดเล็กมาก เพียง 8 มิลลิเมตร ถึง 1 เซนติเมตรเท่านั้น ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ให้ผลลัพธ์ของการผ่าตัดกระดูกสันหลังที่น่าพึงพอใจ และยังพบภาวะแทรกซ้อนต่ำ โดยเฉพาะเมื่อทำการรักษาผ่าตัดกับศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง

ศูนย์รักษาผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Premium Spine โดยคุณหมอโชคอนันต์ ศัลยแพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อ ผู้ชำนาญการพิเศษผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง รักษาโรคกระดูกสันหลัง อาการกระดูกทับเส้น อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเสื่อม หรือกระดูกคอทับเส้นประสาท พร้อมเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย การันตีประสบการณ์และความเชี่ยวชำนาญในการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยกล้อง ได้รับวุฒิบัตรจากแพทยสภายุโรป และโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศ

Premium Spine ศูนย์ส่องกล้องกระดูกสันหลังหมอโชคอนันต์ ที่แรกและที่เดียวที่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเข้ารักษาโรคกระดูกสันหลัง ในราคาที่คนไทยเข้าถึงได้ ด้วยมาตรฐานบริการดูแลรักษาระดับสากล ช่วยให้คนไทยที่ป่วยด้วยโรคกระดูกสันหลังทุกคน สามารถผ่านพ้นความเจ็บปวดด้วยวิธีรักษาที่ดีที่สุด มีความปลอดภัย คนไข้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างมีความสุข

Website : https://premiumspine.com
Facebook : https://www.facebook.com/EndoscopeSpineSurgery
โทร: 089 468 5231, 081 099 9700, 089 468 5231
อีเมล์: allanorthopeadist@gmail.com
Line ID:  @602cvchw


เวลาทำการวันจันทร์-พฤหัส 17:00-19:00 น.  (หยุดทุกวันศุกร์)
วันเสาร์: 09.00 - 12.00 น.
วันอาทิตย์: 09.00 - 16.00 น.

เวลาทำการ

วันจันทร์: 17.00 - 19:00
วันอังคาร: 17.00 - 19:00
วันพุธ: 17.00 - 19:00
วันพฤหัสบดี: 17.00 - 19:00
วันศุกร์: 17.00 - 19:00
วันเสาร์: 09.00 - 13.00
วันอาทิตย์: 09.00 - 17.00

GOOGLE MAP

Facebook Fanpage

Contact Us

คลินิกหมอโชคอนันต์ ศูนย์ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง

089 468 5231,081 099 9700, 089 468 5231

allanorthopeadist@gmail.com

@602cvchw

184/3ถนนรัถการเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ สงขลา เทศบาลนครหาดใหญ่ 90110